PRoCresser

อัพเกรดระบบเสียงรถ BMW 2020 ด้วย
MATCH UP 7DSP ( Made in Germany ) ??
พร้อมชุดสาย PP – BMW1.7RAM

POSTED ON 21.
ผมขอนำเสนอแนวทางการอัพเกรดระบบเสียง สำหรับ BMW 2020 ที่มีความสมบูรณ์แบบ ด้วยภาคขยายเสียงที่มีระบบประมวลผลอัจฉริยะ
อย่าง MATCH UP 7DSP ( Made in Germany ) ??
.
พร้อมชุดสาย PP – BMW 1.7RAM
ที่เชื่อมต่อสัญญาณเสียงจาก RAM Module ทั้ง 7 แชนแนล
*โดยไม่มีการตัด – ต่อสายใดๆ ของรถ
.
.
MATCH UP 7DSP ?? นี้ ออกแบบมาสำหรับอัพเกรดระบบเสียงรถ BMW
ที่ใช้ระบบเสียง Stereo และ Hi – fi Sound System ( Option 676 ) โดยเฉพาะ
.
MATCH UP 7ยังเป็นเจ้าแรก และเจ้าเดียวที่พัฒนาระบบซอฟท์แวร์ ( FX )
เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดทางด้านเสียงของลำโพงเซ็นเตอร์ ลำโพงคู่หน้า ขนาด 4 นิ้ว และ ลำโพงวูฟเฟอร์ 8 นิ้วใต้เบาะคู่หน้า ที่ถูกกำหนดตำแหน่งติดตั้งมาจากโรงงาน ให้มีศักยภาพในการทำงานอย่างไร้ขีดจำกัด
.
ส่วนชุดสาย PP – BMW 1.7RAM ทำหน้าที่เชื่อมต่อจาก RAM Module
เข้าประมวลผล และขยายเสียงขาออกด้วย MATCH UP 7DSP โดยไม่มีการตัด – ต่อสายเดิมของรถ
.
ซึ่งรถ BMW ที่มีฐานการผลิตกลางปี 2019เป็นต้นมา ชุดเครื่องเสียงสำหรับรถปีดังกล่าว ได้พัฒนาให้มีระบบ RAM Module
.
เจ้า RAM Module นี้ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของวิทยุ
รวมไปถึงควบคุมภาคขยายของลำโพงทั้ง 7แชนแนลอีกด้วย
.
ดังนั้น การอัพเกรดระบบเสียงของ BMW ทุกวันนี้ จึงมีข้อจำกัด
หากผู้ใช้รถ ได้ทำการดัดแปลงระบบเสียง หรือถอดสายใดๆ จากระบบ RAM Module ระบบประมวลผลของรถจะทำการแจ้งเตือนเป็น Notification ขึ้นที่หน้าจอของรถทันที ในขณะเดียวกัน ระบบเสียงทั้งหมดจะถูกตัดการทำงานอีกด้วย
.
______
ก่อนจะจบคอนเท้นนี้ ผมขอย้ำว่า ระบบเสียงที่ดีนั้น จะหวังพึ่งเพียงอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งไม่ได้นะครับ จะต้องมาจากระบบที่ทำงานอย่างสอดประสานกันจากอุปกรณ์ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็น DSP, Amplifier, Speaker, Subwoofer, ระบบสาย และ Acoustic Materials รวมถึงการติดตั้ง และการปรับจูนเสียงจากร้านติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์ที่มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญเท่านั้นนะครับ
_____
.
หากสนใจ หรือชื่นชอบบทความ อย่าลืมกดติดตาม หรือ กดไลค์
กดแชร์ เพจ Car Audio Hi-Res กันนะครับ
ติดต่อเรา https://m.me/CaraudioHires
.
ขอขอบคุณ และสวัสดีครับ ?
.
ทีมงาน Car Audio Hi-Res
.
#CarAudioHiRes #เครื่องเสียงรถยนต์
#HiResCarAudio #เครื่องเสียงรถยนต์ไฮเรซ #WorldClassCarAudio #MATCH #DspPlug&Play #PP_BMW1_7RAM #RAM

ภาพตัวเครื่อง DSP

ในบทความนี้ ผมจะกล่าวถึงพื้นฐานเรื่องเสียง และความสัมพันธ์ของศาสตร์แห่งเสียงที่ในยุคนี้ต้องมี DSP เข้ามาเกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลพื้นฐานของ DSP ครับ

ก่อนอื่น ผมขอปูพื้นฐานสักนิดเกี่ยวกับ “เสียง” ที่มีความซับซ้อนมากกว่าที่คนทั่วไปคิด เพราะการได้ยินของเสียงของคนเรานั้นประกอบไปด้วย 3 มิติ ซึ่งได้แก่
1. ย่านความถี่เสียง ( Frequency ) ที่ประกอบไปด้วยย่านความถี่หลัก 3 ย่านได้แก่ ย่านความถี่สูง ย่านความถี่กลาง และย่านความถี่ต่ำ
2. ระดับความดังของเสียง ( Level )
3. เวลาในการเดินทางของเสียง ( Time ) โดยองค์ประกอบหลัก 3 ตัวนี้ เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของเสียง ผมขอสรุปเป็นคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ อีกครั้งนะครับ

“เสียง ประกอบไปด้วย ความถี่ – ความดัง – ความยาว”
แล้ว 3 ปัจจัยนี้ มีผลอไรกับเครื่องปรับแต่งเสียงแบบดิจิตอล…คำตอบที่ชัดเจนทั้งหมด จะอยู่ในบทความด้านล่างนี้ครับ
.
ก่อนอื่น…เรามาเริ่มทำความรู้จักความหมายของคำว่า “เสียง” ก่อนนะครับ

เสียง คือ สิ่งที่มนุษย์เรารับรู้ได้ถึงขนาด ระยะทาง และทิศทาง ที่เกิดขึ้นจากจุดกำเนิดเสียง เดินทางผ่านอากาศ เข้ามายังหูของมนุษย์ ซึ่งเราจะได้ยินเสียงหลากหลายความถี่ ตามระดับความดังที่แตกต่างกันไป

ภาพอธิบายองค์ประกอบการรับรู้มิติของเสียง อ้างอิงจาก : https://img.selzstatic.com/items/206846/b2p34sw5wp0/original.jpg?w=1600&fit=min&auto=compress%2Cformat&q=70

ดังนั้น “เสียง” จึงมีการกำหนดภาพลักษณ์ขึ้นมาเป็นภาพลักษณ์รูปแบบของเวที โดยจำลองจากการแสดงบนเวทีแบบดั้งเดิมในโรงละคร หรือการแสดงในคอนเสิร์ตฮอลล์ขึ้นมา เพื่อความเข้าใจที่ละเอียด และลึกซึ้งมากขึ้น ภาพลักษณ์เหล่านี้ถูกแยกออกมาเป็น
1. เวทีเสียง : กำหนดขึ้นมาเพื่อให้รับรู้ถึงการจินตนาการขนาดความกว้างของหน้าเวทีจากด้านซ้ายสุดไปยังด้านขวาสุดของเวที
ซึ่งรายละเอียดของเวทีเสียงทุกวันนี้กำหนดให้มีความสูงของเวทีเพิ่มขึ้นมาด้วย
2. ความลึก : กำหนดขึ้นมาเพื่อการจินตนาการถึงความลึกของเวทีเสียงจากด้านหน้าสุด ไปจนถึงด้านหลังสุดของเวทีเสียง ซึ่งบนเวทีจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
3. จินตภาพ หรือ Imaging : คือตำแหน่งของเครื่องดนตรีที่เราสามารถอนุมานจากจินตนาการที่เราได้รับฟังเสียง จากบทเพลงที่เรากำลังรับฟังอยู่

ภาพอธิบายเรื่องเวทีเสียง ความลึกของเวที และจินตภาพ อ้างอิงจาก :
https://s3-media1.fl.yelpcdn.com/bphoto/edKotCqq_OmiAOunW5NAGg/o.jpg

ซึ่งบนเวทีเสียงนั้นประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ร่วมกันบรรเลง สอดประสานออกมาเป็นบทเพลง ส่งเสียงออกมาเป็นความถี่ย่านสูง กลาง ต่ำ ซึ่งเครื่องดนตรีแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการเดินทางของเสียงจากจุดกำเนิดเสียงที่แตกต่างกันจึงทำให้เราสามารถรับรู้ถึงตำแหน่งของเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆบนเวทีได้ เมื่อการแสดงบนเวทีแห่งนั้นถูกบันทึกลงเป็นไฟล์เสียง ผ่านเครื่องเล่นเพลง ถ่ายทอดสัญญาณมายังแอมป์ขยายเสียงออกมาที่ลำโพง… แล้วเราจะมีวิธีบริหารจัดการเสียงเหล่านี้อย่างไรให้ระบบเสียงที่เรากำลังรับฟังนั้น มีความสามารถในการถ่ายทอดเสียงเพลงได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับที่บันทึกมาให้ได้มากที่สุด?

และเป็นที่แน่นอนว่า เครื่องปรับแต่งเสียงแบบดิจิตอล ( DSP ) จะเข้ามามีบทบาทเรื่องของการปรุ่งแต่ง “เวทีเสียง” ให้มีความสมบูรณ์เหมือนการบันทึกเพลงจากต้นฉบับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้…เป็นเพราะเหตุอันใด ?

ผมขอเท้าความสักนิด
.
เดิมทีเครื่องเสียงรถยนต์ยุคแรกๆ จะมีเพียงวิทยุ และลำโพงที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเสียงเท่านั้น
.
ต่อมาโรงงานผู้ผลิตเครื่องเสียงรถยนต์จึงพัฒนาอุปกรณ์ปรับแต่งเสียงเพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงให้ดีขึ้น เช่น
– แอมปลิฟายล์ ( Amplifier ) ทำหน้าที่ขยายกำลังเสียงจากวิทยุให้มีกำลังขยายไปที่ลำโพงมากขึ้น

https://www.pixtastock.com/illustration/45752634

– อิควอไลเซอร์ (Equalizer) และ ปรีแอมป์ ( Pre-Amp ) ทำหน้าที่ปรับแต่งย่านความถี่เสียงที่ขาด หรือเกินให้มีความสมดุล

– อิเลคทรอนิคส์ครอสโอเวอร์ (Electronic Crossover) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่กรองสัญญาณเสียงให้ลำโพงได้ทำงานตามความถี่ที่กำหนดไว้

เมื่อมีอุปกรณ์ 3 ตัวที่กล่าวไว้ด้านบน คงมีความสามารถไม่เพียงพอสำหรับโลกเครื่องแห่งเครื่องเสียงรถยนต์เสียงระดับ HiRes ที่เน้นเรื่องรายละเอียดเสียง และความสมบูรณ์แบบของเสียง
แล้วเจ้าเครื่องปรับแต่งเสียงแบบดิจิตอล หรือ DSP นี้มีขีดความสามารถอย่างไรที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของระบบเสียงในรถยนต์ได้บ้าง ศักยภาพ และความสามารถของเสียงระดับ HiRes นั้นเป็นอย่างไร
คำว่า DSP นี้ย่อมาจาก Digital Signal Processing หากแปลตรงตัวเป็นภาษาไทยจะแปลว่า “เครื่องประมวลผลของสัญญาณเสียงด้วยรูปแบบดิจิตอล” ซึ่งโลกยุคนี้คงหลีกเลี่ยงเรื่องของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย มีการนำอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ พัฒนาออกมาเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกกับชีวิตในทุกด้านเสียไม่ได้แล้ว
ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่วงการเครื่องเสียงรถยนต์จะพัฒนาอุปกรณ์สักตัวหนึ่งขึ้นมาเป็นอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องการปรับแต่งระบบเสียงให้มีคุณภาพผ่านซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึงใช้งานบางส่วนผ่านแอพพลิเคชั่นของสมาร์ทโฟน
.

แล้วอุปกรณ์ DSP นี้ ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

เมื่อ DSP พัฒนาขึ้นมาเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกด้านการปรับแต่งเสียง ตัวเครื่องออกแบบให้มีขนาดกระทัดรัดติดตั้งได้ง่าย และมีความอิสระในด้านการปรับแต่งเสียง

.

เมื่อช่วงต้นๆของบทความ ผมเรียนให้ทุกท่านจำองค์ประกอบของเสียงที่จำแนกเป็น “ความถี่ – ความดัง – ความยาว” ใช่ไหมครับ เจ้าเครื่องปรับแต่งเสียงดิจิตอล หรือ DSP นี่แหละ ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับแก้องค์ประกอบ 3 ปัจจัยนี้ด้วยฟังก์ชั่นการปรับจูนหลักของ DSP ซึ่งได้แก่

  • อิเลคทรอนิคส์ครอสโอเวอร์ ทำหน้าที่กรองความถี่เสียง กำหนดค่าความถี่ให้กับลำโพง ทำให้ลำโพงแต่ละย่านเสียง ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอิเลคทรอนิคส์ครอสโอเวอร์นี้อยู่ในหัวข้อของการจัดการ “ความถี่” โดยความถี่ที่ว่านี้จะส่งผ่านย่านเสียงที่เราได้ทำการระบุค่าที่กำหนดไว้ ส่งผ่านออกลำโพง

– อิควอไลเซอร์ ที่ทำหน้าที่ภาคปรับแต่งย่านความถี่เสียงที่ขาด หรือเกิน หลังจากที่เราทำการตัดแบ่งความถี่ที่ภาคอิเลคทรอนิคส์ครอสโอเวอร์แล้ว ซึ่งในโปรแกรมปรับจูนเสียงที่ละเอียด อิควอไลเซอร์จะมีย่านความถี่ ( Band ) ให้เลือกปรับได้มากถึง 30 Band ซึ่งฟังก์ชั่น อิควอไลเซอร์นี้เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่อง “ความถี่” ให้มีรายละเอียดเสียงที่ฟังแล้วรู้สึกนุ่มนวล มีความต่อเนื่องของเสียงมากขึ้น

– Channel Gain / Output Level หรือ ระบบเพิ่ม / ลดความดังของเสียงตามช่องสัญญาณที่กำหนดไว้
ส่วนนี้จะเข้ามาแก้ปัญหาเรื่อง “ความดัง” ของลำโพงแต่ละย่านเสียงให้มีระดับความดังที่เหมาะสมกัน

– Time Alignment หรือ ระบบหน่วงระยะเวลาการเดินทางของเสียง Time Alignment จึงเข้ามาแก้ปัญหาเรื่อง “ความยาว” ของคลื่นเสียงที่เดินทางจากลำโพงแต่ละย่านที่มีค่าความถี่ต่างกัน ให้เดินทางมาถึงหูผู้ฟังพร้อมกัน

.
เมื่อทราบฟังก์ชั่นการทำงานหลักของเครื่องปรับแต่งเสียงรูปแบบดิจิตอล หรือ DSP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ประเด็นถัดมาคือ ความสามารถในการประมวลผลของเครื่องปรับแต่งเสียงดิจิตอลที่มีความสามารถในการตอบสนองความถี่เสียงระดับ HiRes
.
แล้วเทคโนโลยี HiRes คืออะไร ? ผมขออนุญาตนำข้อมูลเรื่อง HiRes Audio จาก rev.at1987.com มาชี้แจงให้ทุกท่านได้ทราบนะครับ
หลังจากที่ HiRes Audio ได้รับความนิยมในหมู่นักเล่นเครื่องเสียงที่ต้องการฟังเพลงในรูปแบบต้นฉบับที่ไม่มีการลดทอนคุณภาพแล้ว ในเดือนกันยายน ปี 2013 Consumer Electronics Association (CEA) ได้ร่วมมือกับ Sony Electronics และค่ายเพลงในกลุ่ม Big Three คือ Universal Music, Warner Music และ Sony Music ในการผลักดัน HiRes Audio เข้าสู่กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป

ทาง Sony Electronics เองก็ได้ออกสินค้าที่รองรับ HiRes Audio โดยใช้โลโก้ Hi-Res Audio เป็นตัวบ่งบอก ซึ่งสินค้าที่รองรับ HiRes Audio ของ Sony จะต้องรองรับการตอบสนองความถี่ที่ 40 kHz ขึ้นไป และรองรับความละเอียดที่ 24-bit 96 kHz ส่วนทางค่ายเพลงต่าง ๆ ก็เริ่มที่จะออกอัลบั้มใหม่ ๆ ในรูปแบบ HiRes Audio และนำอัลบั้มเพลงฮิตในอดีตกลับมา remaster ใหม่อีกครั้ง

เนื่องจาก HiRes Audio นั้นไม่มีคนกำหนดมาตรฐานที่แน่นอน ผู้ใช้ก็เริ่มสับสนว่าอะไรคือ HiRes Audio กันแน่ ในช่วงเดือนมีนาคม 2014 JEITA ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ออกข้อกำหนดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และ IT ต่าง ๆ ของญี่ปุ่น จึงได้ออกข้อกำหนดของ HiRes Audio เอาไว้ดังนี้

High Resolution Audio คือ เสียงในรูปแบบดิจิตอล LPCM ที่เหนือกว่ามาตรฐาน Audio CD ที่มีความละเอียด 16-bit 44.1 kHz (ใช้ใน CD) และ 48 kHz (ใช้ใน DVD และเทป DAT) และหากมีค่าใดค่าหนึ่งต่ำกว่ามาตรฐาน Audio CD ก็ไม่จัดว่าเป็น HiRes Audio

ตัวอย่างความละเอียดที่เป็น HiRes Audio

48 kHz 24-bit (เท่า CD / เหนือกว่า CD)
96 kHz 16-bit (เหนือกว่า CD / เท่า CD)
96 kHz 24-bit (เหนือกว่า CD / เหนือกว่า CD)
ตัวอย่างความละเอียดที่ไม่เป็น HiRes Audio

48 kHz 16-bit (เท่า CD / เท่า CD)
96 kHz 12-bit (มากกว่า CD / น้อยกว่า CD)
32 kHz 24-bit (น้อยกว่า CD / มากกว่า CD)
คุณสมบัติของ HiRes Audio ที่กำหนดโดย JEITA นั้นพูดถึงเรื่องของความละเอียดของการเข้ารหัสเสียงแบบ LPCM เป็นหลักโดยไม่ได้สนใจคุณสมบัติอื่น ๆ

ในช่วงเดือนมิถุนายน Japan Audio Society (JAS) หรือสมาคมเครื่องเสียงญี่ปุ่น ได้ออกข้อกำหนดของ HiRes Audio เพื่อให้เหล่าผู้ผลิตเครื่องเสียงในญี่ปุ่นยึดเป็นมาตรฐาน ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้นำมาจากคุณสมบัติของมาตรฐานอุปกรณ์ Hi-Res Audio ของ Sony

นอกเหนือจากใช้คุณสมบัติตามมาตรฐานของ Sony ทาง Sony เองยังได้โอนโลโก้ Hi-Res Audio ของตนเองให้กับ JAS สำหรับใช้โปรโมทอุปกรณ์ที่ผ่านการรับรองอีกด้วย ซึ่งตอนนี้เราก็เริ่มเห็นผู้ผลิตเครื่องเสียงจากญี่ปุ่นหลาย ๆ เจ้านอกเหนือจาก Sony ใช้งานโลโก้ตัวนี้กับสินค้าของตัวเองกันบ้างแล้ว

สำหรับข้อหนดของ HiRes Audio ของ JAS มีดังนี้

สำหรับอุปกรณ์แอนนาล็อก

ไมโครโฟน ต้องตอบสนองต่อความถี่ได้มากกว่า 40 kHz
เครื่องขยายเสียง ต้องมีประสิทธิภาพในการขับความถี่ได้มากกว่า 40 kHz
ลำโพงและหูฟัง ต้องตอบสนองต่อความถี่ได้มากกว่า 40 kHz
สำหรับอุปกรณ์ดิจิตอล

รูปแบบการบันทึกเสียง ไฟล์ WAV หรือ FLAC ที่ความละเอียด 24-bit 96 kHz ขึ้นไป
ภาคสัญญาณขาเข้าและออก ต้องมีความละเอียด 24-bit 96 kHz ขึ้นไป
รูปแบบการเล่นกลับ ไฟล์ WAV หรือ FLAC ที่ความละเอียด 24-bit 96 kHz ขึ้นไป (กรณีเป็นอุปกรณ์บันทึกเสียง สามารถเลือกรองรับไฟล์เพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งได้)
การประมวลผลสัญญาณ ( DSP ) ต้องประมวลผลที่ความละเอียด 24-bit 96 kHz ขึ้นไป
การแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนนาล็อก ต้องมีความละเอียด 24-bit 96 kHz ขึ้นไป
นอกเหนือจากข้อกำหนดข้างบน อุปกรณ์จะต้องผ่านการประเมินจากการฟังตามมาตรฐานของผู้ผลิตอุปกรณ์ ก่อนที่จะได้รับการรับรองและสามารถใช้โลโก้ Hi-Res Audio ในการโปรโมทอุปกรณ์ตัวนั้นได้

ส่วนในฝั่งของอเมริกานั้น ทาง CEA ได้ตกลงรับข้อกำหนด HiRes Audio ของ JAS รวมทั้งใช้งานโลโก้ Hi-Res Audio เช่นเดียวกับผู้ผลิตเครื่องเสียงในญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่อย่างไรก็ตามก่อนหน้านั้น ทาง CEA เองได้มีการร่วมมือกับ The Digital Entertainment Group (DEG), The Recording Academy และค่ายเพลง Big Three ออกข้อกำหนดของ HiRes Audio ไว้ดังนี้
High Resolution Audio คือสัญญาณเสียงแบบไม่สูญเสียคุณภาพ ที่สามารถสร้างเสียงกลับได้ครบถ้วนตรงตามต้นฉบับ ซึ่งแหล่งที่มาของต้นฉบับมีคุณภาพสูงกว่า CD
นอกจากนี้ยังได้ระบุข้อกำหนดของต้นฉบับที่ใช้ในการผลิตไฟล์เพลงรูปแบบ HiRes Audio ที่เรียกว่า Master Quality Recording ขึ้นมา ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
MQ-P สำหรับต้นฉบับในรูปแบบ PCM ที่ความละเอียดมากกว่า 20-bit 48 kHz
MQ-A สำหรับต้นฉบับในรูปแบบแอนะล็อก เช่น เทปแม่เหล็ก
MQ-C สำหรับต้นฉบับที่ใช้ในการผลิต Audio CD (16-bit 44.1 kHz)
MQ-D สำหรับต้นฉบับในรูปแบบ DSD / DSF (2.8 และ 5.6 MHz)
สรุปแล้ว ตอนนี้ High Resolution Audio ก็น่าจะมีมาตรฐานเป็นตัวเป็นตนแล้ว นั่นก็คือมาตรฐานของ JAS ที่อิงตามคุณสมบัติ Hi-Res Audio ของ Sony อีกที คืออุปกรณ์ต้องมีความละเอียดอยู่ที่ 24-bit 96 kHz ขึ้นไป และรองรับความถี่ที่ 40 kHz ขึ้นไป ซึ่งค่าที่กำหนดออกมาก็สอดคลองกับทฤษฏีการสุ่มสัญญาณพอดีครับ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก HiRes Audio นั้นเพิ่งเปิดตัวกับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปไม่นานมากนัก ก็คงต้องดูกันต่อไปว่า ข้อกำหนดที่วางไว้จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ปีหน้าในงาน CES ที่กำลังจะมาถึง เราจะได้พบเห็นอุปกรณ์ที่รองรับ HiRes Audio หลั่งไหลกันเข้ามาหาเหล่าผู้ใช้ทั่วไปแน่นอนครับ

( ข้อมูลต่อจากนี้ จะช่วยกันหาข้อมูล และเขียนเป็นบทความในที่ประชุม )

นอกจากนี้ยังมี DSP ที่รวมภาคขยายเสียง หรือแอมปลิฟายล์ในตัว ซึ่งเราเรียกอุปกรณ์นี้ว่า DSP – Amp ซึ่งช่วยลดขั้นตอนการติดตั้ง และยังประหยัดพื้นที่การติดตั้งอุปกรณ์ได้อีกด้วย

.
และหากเจ้าของรถท่านใดกังวลเรื่องการติดตั้งระบบ DSP นั้นต้องตัด – ต่อสายไฟเพื่อเชื่อมต่อกับระบบเดิมของรถ
ไม่ต้องกังวลกับเรื่องนี้อีกต่อไป เพราะระบบ DSP – Amp ได้พัฒนาเทคโลยีที่ชื่อว่า Plug and Play ที่สามารถอัพเกรดระบบเครื่องเสียงรถยนต์ให้สามารถต่อพ่วงกับ DSP – Amp ได้ทันที โดยไม่ต้องตัดระบบสายเครื่องเสียงรถยนต์ที่ติดตั้งมาจากทางโรงงานผู้ผลิต

เอ่ยถึงสรรพคุณมากมายของ DSP ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการปรับแต่งเสียง รวมถึงประเภทของ DSP ที่แยกย่อยลงมาขนาดนี้แล้ว เชื่อว่าหลายๆคนคงให้ความสนใจกับอุปกรณ์อัจฉริยะตัวนี้กันมากขึ้นนะครับ

ในบทความหน้า ผมจะมาแนะนำรุ่นของเครื่องปรับแต่งเสียงแบบดิจิตอลที่เหมาะสมกับแต่ละระบบเสียง ตั้งแต่ระบบเล็ก ไปจนถึงระบบใหญ่ เพื่อความเข้าใจรายละเอียดการใช้งานที่มากขึ้น
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านที่ติดตามเพจนี้นะครับ

ติดตามข่าวสาร และข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเสียงรถยนต์ระดับ Hi-Res Audio ได้ที่
>> FB Page Hi-Res Audio<<
และอย่าลืมกดปุ่มติดตาม ( Follow ) ไว้เพื่ออัพเดทข้อมูลข่าวสารกันต่อไปนะครับ
.
ขอบคุณ และสวัสดีครับ
.
ทีมงาน Hi-Res Audio

เจ้าของและผู้ก่อตั้ง

” ผมสั้งสมความเชี่ยวชาญตลอดเวลาเพื่อช่วยเปลี่ยนประสบการณ์ฟังเพลงในรถยนต์ของคุณไปตลอดกาล….”

TAGS
      

 

หมวดหมู่

DSP
AMPLIFIERS
DAMPING MATERIAL
ENCLOSURS
INTERCONNECT & CABLE
SPEAKER
SUBWOOFER

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

OFFICE

25/1 ซอยพระยาพิเรนทร์ ถนนเชื้อเพลิง แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

 

Contact us

081-422-9825