หากเอ่ยถึงผลิตภัณฑ์เพาเวอร์แอมป์รูปแบบแอนนาล๊อก และดิจิตอลระดับไฮเอนด์ของ HELIX
แน่นอนว่า แอมป์รุ่น C ซีรี่ย์ และ P ซีรี่ย์ คือแอมป์รุ่นท๊อป
หากเป็นแอมป์แอนนาล๊อกระดับมาตรฐาน ในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย จะเป็นแอมป์รุ่น D ซีรี่ย์
และแอมป์ที่มีระดับราคาอยู่ระหว่างแอมป์รุ่น D กับรุ่นท๊อป คือ แอมป์รุ่น “ M ซีรี่ย์ ”
ซึ่งเป็นแอมป์อยู่ในระดับมาตรฐาน ราคาปานกลาง
ด้วยเพาเวอร์แอมป์เทคโนโลยีคลาส D อันเปี่ยมประสิทธิภาพ
ที่ทำให้เพาเวอร์แอมป์รุ่นนี้ มีความกระทัดรัดและทันสมัย
.
ทุกวันนี้ เพาเวอร์แอมป์รุ่น M ซีรี่ย์ ที่วางจำหน่ายในตลาดปัจจุบัน
มีรุ่น 6 แชนแนล ( M Six ), 4 แชนแนล ( M Four ), และแอมป์ขับซับวูฟเฟอร์ ( M One )
.
ล่าสุด มีเพาเวอร์แอมป์รุ่นใหม่อีก 2 รุ่น เพิ่มเติมเข้ามาในซีรี่ย์ M นั่นก็คือ
HELIX M One X ( ซึ่งจะกล่าวถึงในบทความครั้งต่อไป )
ที่มีกำลังขับสูงขึ้น ขนาดแอมป์ยาวกว่ารุ่น M One
และเพาเวอร์แอมป์ขนาด 4 แชนแนลพร้อม DSP ในตัวภายใต้ชื่อรุ่น M Four DSP
.
ซึ่งก่อนหน้านี้ มีโรงงานผู้ผลิตเพาเวอร์แอมป์เป็นจำนวนมาก
ได้ผลิตเพาเวอร์แอมป์พร้อมโปรเซสเซอร์ในตัว ( DSP Amp. ) จำหน่ายในราคาที่ถูกกว่า…
แต่จะมีโรงงานไหนบ้าง ที่สามารถผลิตเพาเวอร์แอมป์พร้อมโปรเซสเซอร์ได้ดีกว่า HELIX
ด้วยโรงงานที่มีฝ่ายออกแบบ และฝ่ายผลิตเป็นของตนเองในประเทศเยอรมันนี
ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีกว้างขวางเรื่อง DSP ในตลาดเครื่องเสียงรถยนต์
รวมถึงแบรนด์สินค้าระดับซุปเปอร์ไฮเอนด์อย่าง BRAX
และสินค้าสำหรับกลุ่ม Plug & Play ภายใต้แบรนด์ MATCH
.
M Four DSP
หากคุณกำลังมองหา DSP Amp. ระดับราคาสองหมื่นกลาง
ส่งสัญญาณขาออกจากภาคประมวลผลมาที่ภาคขยาย 4 แชนแนล
ซึ่งแผงเซอร์กิตบอร์ดของแอมป์รุ่นนี้ ได้ออกแบบมาอย่างประณีต
รวมถึงการออกแบบภาคเพาเวอร์ซัพพลาย ที่มีอัตราการจ่ายไฟอย่างเหมาะสม
และยังเป็นเพาเวอร์แอมป์รูปแบบใหม่
ภายใต้แผงเซอร์กิตบอร์ดนี้ ได้แยกภาคการทำงานออกป็น 2 แชนแนล 2 ชุด
ซึ่งสามารถต่อภาคขยายแบบบริดจ์ได้
ภาคเพาเวอร์แอมปลิฟายเออร์ที่ใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์มากชิ้น
แต่สามารถผลิตกำลังขับที่เท่าๆ กัน ทั้งอิมพิแดนซ์ 4 และ 2 โอห์ม
( กรณีเพาเวอร์แอมป์ขยายกำลังอย่างเต็มที่ ณ อิมพิแดนซ์ 4 โอห์มแล้ว
ที่อิมพิแดนซ์ 2 โอห์ม กำลังขับก็ยังคงเท่าเดิม )
.
ลูกเล่นใหม่ของ M Four DSP
แน่นอนว่าจะมีเซอร์กิตบอร์ดภาคดิจิตอลเข้ามาแทนที่เซอร์กิตบอร์ดแอนนาล๊อกของ M Four
ซึ่งเซอร์กิตบอร์ดดิจิตอลนี้มีรากฐานมาจากโปรเซสเซอร์ HELIX ที่เราคุ้นเคย
เช่น ภาคประมวลผลความละเอียด 32 บิทจากแพลตฟอร์ม ACO
ที่พัฒนาโดยทีมงาน Audiotec Fischer ก็ถูกยกมาใช้ใน M Four DSP
ให้นักเล่นเครื่องเสียงได้มีโอกาสสัมผัสศักยภาพของ DSP Helix กันมากขึ้น
.
รากฐานที่สำคัญของส่วนนี้คือ ชิพประมวลผลภาค DSP จาก Analog Device รุ่น ADAU1452
ซึ่งเป็นชิพประมวลผลที่ใช้กับสินค้าของ Audiotec Fischer เป็นส่วนใหญ่
ภาคถอดรหัสเสียงแอนนาล๊อกเป็นดิจิตอล และ ดิจิตอลเป็นแอนนาล๊อก
ก็มีความละเอียดในการประมวลผล 32 บิท เช่นกัน
ดังนั้น สัญญาณเสียงทุกรูปแบบที่ผ่านเข้ามา
จะได้รับการประมวลผลที่มีความละเอียดถึง 32 บิท
.
การใช้งานของ M Four DSP จึงมีความหลากหลาย
ด้วยภาคขยายขาออก 4 แชนแนล
มีช่องสัญญาณขาออก 6 แชนแนล
ผ่านการปรับแต่งเสียงด้วยระบบ DSP ที่มากถึง 10 แชนแนล
.
ซึ่งร้านติดตั้งสามารถแนะนำ M Four DSP ให้เป็นหัวใจหลักของการขยายระบบเสียง
โดยผู้ใช้งาน สามารถเพิ่มแอมป์ M Four เข้าไปในระบบอีก 1 ตัว
และสามารถเพิ่มแอมป์ขับซับวูฟเฟอร์ของตระกูล M ได้อีก 1 – 2 ตัว
ซึ่งระบบนี้ สามารถควบคุมระบบเสียงรูปแบบไฮเอนด์ได้อย่างเต็มความสามารถ
ไม่น้อยหน้าไปกว่าระบบแอคทีฟรูปแบบอื่นๆ
ที่มีการควบคุมลำโพงเซ็นเตอร์ และเซอร์ราวด์ด้านหลังที่ทำหน้าที่สร้างบรรยากาศเสียง
.
ความสามารถด้านซอฟท์แวร์
ฟังก์ชั่นการใช้งาน DSP สามารถปรับจูนผ่านโปรแกรม DSP PC – Tool ของ Audiotec Fischer
ซึ่งเป็นโปรแกรมปรับจูนเสียงที่มีศักยภาพมากที่สุด ในวงการเครื่องเสียงรถยนต์
ณ เวลานี้ ไม่มีทางเป็นไปได้ว่า M Four DSP จะถูกลดฟังก์ชั่นในการปรับจูนเสียงลง
แต่ในทางกลับกัน ยังคงอัดแน่นด้วยโปรแกรมปรับจูนที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานเหมือน DSP และ DSP Amp. รุ่นสูง
ที่ได้เพิ่มฟังก์ชั่นการปรับจูนอิควอไลเซอร์อิสระแต่ละแชนแนล 30 แบนด์ ปรับตั้ง Time Alignment
ทั้งภาคสัญญาณเสียงขาเข้า และขาออก สามารถเลือกรูปแบบอิเลคทรอนิคส์ครอสโอเวอร์ได้อย่างอิสระ
.
ช่องสัญญาณเสมือน VCP ( Virtual Channel Processing )
เป็นฟังก์ชั่นที่มีความสามารถในการรวมสัญญาณเสียงจากแหล่งจ่ายสัญญาณ
( เฮดยูนิต และแอมปลิฟายล์ที่ติดตั้งมาจากโรงงานผลิตรถยนต์ )
ที่แยกย่านเป็นเสียงแหลม เสียงกลาง เสียงต่ำ
ให้กลับเป็นย่านเสียงตรงตามช่องสัญญาณที่ช่องสัญญาณเสมือนกำหนดไว้
ซึ่งช่องสัญญาณเสมือนนี้จะคั่นอยู่ระหว่างช่องสัญญาณเสียงขาเข้า และช่องสัญญาณเสียงขาออก
.
กรณีตัวอย่าง : ระบบเสียงลำโพงคู่หน้า 3 ทาง แอคทีฟ
ใช้สัญญาณเสียงขาเข้า ผ่านช่องสัญญาณเสมือน ( Virtual Channel )
ให้เป็นสัญญาณช่องหน้าซ้าย ( Front L Full ) และหน้าขวา ( Front R Full )
ขยายสัญญาณออกทางเอาท์พุท
แบ่งออกเป็น ย่านเสียงแหลม 2 แชนแนล ( Front L High, Front R High )
เสียงกลาง 2 แชนแนล ( Front L Mid, Front R Mid )
และเสียงต่ำ 2 แชนแนล ( Front L Low, Front R Low )
.
ข้อดีของช่องสัญญาณเสมือน ( Virtual Channel ) คือ
Time Alignment ที่ผ่านการตั้งค่าอย่างอิสระ
จากลำโพงทวีตเตอร์ มิดเรนจ์ และวูฟเฟอร์ จากภาค Output
ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งโทนเสียงเพิ่มเติมได้จากอิควอไลเซอร์ของช่องสัญญาณเสมือน ( Virtual Channel )
ช่องหน้าซ้าย หรือหน้าขวาแบบทั้งย่านได้
โดยไม่ต้องแยกปรับทีละดอกลำโพง
การปรับเสียงจากช่องสัญญาณเสมือน ( Virtual Channel ) นี้
ช่วยให้การปรับจูนเสียงมีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
เท่านี้ยังไม่พอ ช่องสัญญาณเสมือน ( Virtual Channel ) เอง ยังสามารถปรับ Time Alignment
และระดับความดัง ( Gain ) แบบทั้งย่านได้อีกด้วย
.
ฟังก์ชั่นปรับแต่งเสียง FX
สามารถปรับแต่งเสียงเอฟเฟคในช่องสัญญาณเสมือน ( Virtual Channel )
ซึ่งเป็นอัลกอริทึมที่เพิ่มศักยภาพทางด้านคุณภาพเสียง
ของลำโพงเซ็นเตอร์ ลำโพงชุดหน้า และซับวูฟเฟอร์
.
ฟังก์ชั่น Real Center
จะคำนวณสัญญาณเสียงเซ็นเตอร์ด้วย ภาคประมวลผลทางด้านเสียง
( แต่การคำนวณนี้ไม่สามารถคำนวณจากสัญญาณเสียงที่เป็นโมโน หรือสัญญาณเสียงขาเข้าแบบกลับเฟส )
.
ฟังก์ชั่น Clarity Expander
มีผลกับกับการปรับจูนเสียงของลำโพงชุดหน้า และลำโพงเซ็นเตอร์
ช่วยให้เสียงร้องมีความโดดเด่นมากขึ้น มีมิติ และเวทีเสียงที่กว้างขึ้น
.
ฟังก์ชั่น Bass Processing รวมไปถึงฟังก์ชั่น Sub Xpander
ช่วยเพิ่มโทนเสียงเบสให้มีความลึกขึ้น ซึ่งรับรู้ได้จากฮาร์โมนิคของชิ้นดนตรีที่ทอดยาวขึ้น
.
ฟังก์ชั่น Dynamic Bass Boost
ช่วยเพิ่มเสียงเบสให้มีพลังมากขึ้น สามารถนำไปปรับใช้กับลำโพงวูฟเฟอร์เดิมที่ติดตั้งมาจากโรงงาน
รวมถึงซับวูฟเฟอร์ที่มีกำลังขับที่จำกัด
.
ซึ่งฟังก์ชั่น FX ทั้งหมดนี้ เป็นอัลกอรึทึมพิเศษที่เขียนขึ้นมาเพื่อปรับใช้กับรถยนต์รุ่นใหม่
ที่มีลำโพงเซ็นเตอร์ ลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่มีตำแหน่งติดตั้งมาจากโรงงานผลิตรถยนต์
รวมไปถึงการปรับจูนเวทีเสียงที่ง่าย และได้รายละเอียดเสียงสมบูรณ์
.
นอกจากฟังก์ชั่นวัดเสียง RTA ( Real Time Analyzer )
ในโปรแกรมปรับจูน DSP PC – Tool ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีแล้ว
HELIX M Four DSP ยังมีฟังก์ชั่นล่าสุดอย่าง ISA ( Input Signal Analyzer )
ที่วัดสัญญาณเสียงขาเข้า จากภาคแอนนาล๊อกของวิทยุที่ติดตั้งจากโรงงานผลิตรถยนต์ได้
หากสัญญาณเสียงจากวิทยุมีการตั้งค่าอิควอไลเซอร์จากโรงงานมาแล้ว
การวัดค่าจาก ISA จะแสดงให้เห็นว่า
สัญญาณเสียงที่ส่งออกมาจากวิทยุ เป็นสัญญาณที่เต็มย่าน หรือไม่ครบย่าน
.
มากไปกว่านั้น สัญญาณเสียงที่ไม่ครบย่าน ที่ถูกแยกความถี่ไว้ ( เสียงแหลม, เสียงกลาง, เสียงต่ำ )
ผู้ใช้งานสามารถรวมสัญญาณเสียง ให้กลับมาเป็นสัญญาณเสียงที่ครบย่าน
โดยสามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของรูปสัญญาณได้จากฟังก์ชั่น ISA
.
เมื่อปรับแต่งสัญญาณเสียงขาเข้า ด้วยอิควอไลเซอร์จำนวน 5 แบนด์
และวัดสัญญาณเสียงขาเข้าด้วยฟังก์ชั่น ISA แล้ว
การปรับจูนเสียงของ DSP ในภาค Output จะสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
.
โปรแกรมปรับจูนเสียง DSP PC – Tool เวอร์ชั่นล่าสุด
จะมีฟังก์ชั่น ATM ( Automatic Time Measurement )
ซึ่งเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการปรับ Time Alignment แบบอัตโนมัติ
เพียงปล่อยสัญญาณเสียงที่ใช้วัดค่า ATM จากเฮดยูนิต
โปรแกรมจะคำนวณค่า Time Alignment จากลำโพงที่เป็นตำแหน่ง Reference
เทียบกับลำโพงตำแหน่งอื่นๆ จนครบทุกตำแหน่งลำโพงให้โดยอัตโนมัติ
.
M Four DSP มีฟังก์ชั่น Power save mode เพื่อตัดการทำงานของเพาเวอร์แอมป์
กรณีไม่มีสัญญาณเสียงขาเข้าตามระยะเวลาที่กำหนด
ซึ่งฟังก์ชั่นนี้สามารถใช้กับรถยนต์ที่มีระบบ CAN – BUS ได้
.
รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่มีระบบตรวจสอบความบกพร่องของระบบลำโพง ( Diagnostics Protection )
กรณีลำโพงข้างใดข้างหนึ่งเกิดการช๊อต หรือลำโพงขาด
ระบบตรวจสอบนี้จะตัดการทำงานของภาคขยายขาออกทันที
เพื่อป้องกันวิทยุเกิดความเสียหาย
ซึ่ง M Four DSP มีฟังก์ชั่น ADEP.3 ( Advanced Diagnostic Error Protection )
ที่จำลองการทำงานของลำโพง
เพื่อให้เฮดยูนิตคงการทำงานของภาคขยายได้ตามปกติ และเต็มประสิทธิภาพ
.
ภาพรวมของ HELIX M Four DSP
ถือว่าเป็นศูนย์กลางการทำงานของระบบเสียงที่เปี่ยมด้วยพลัง
และมีฟังก์ชั่นการปรับจูนเสียงที่เพียบพร้อม ไม่น้อยไปกว่า DSP รุ่นสูง
.
วัดค่า และทดสอบคุณภาพเสียง
ศักยภาพด้านกำลังขับของ HELIX M Four DSP
มีกำลังขับเท่าเพาเวอร์แอมป์รุ่น M Four
ที่ให้กำลังขับ 4 x 110 วัตต์ ( อิมพิแดนซ์ 4 โอห์ม ) ซึ่งถือเป็นกำลังขับขาออกที่เกินตัว
โดยปกติแล้ว การทำงานของเพาเวอร์แอมป์ที่อิมพิแดนซ์ 2 โอห์ม
สามารถสร้างกำลังขับสูงสุดถึง 150 วัตต์ ต่อแชนแนล
เพื่อความเพี้ยนของสัญญาณน้อยที่สุด
กำลังขับที่อิมพิแดนซ์ 2 โอห์ม จึงจำกัดอยู่ที่ 100 วัตต์ ต่อแชนแนล
ดังนั้น การทำงานของชิพเสียง จึงให้ประสิทธิภาพเสียงที่สะอาดมาก
ด้วยค่าความเพี้ยนเชิงฮาร์โมนิค เพียง 0.013% ( ตรวจวัดที่ 5 วัตต์ )
และค่าความเพี้ยนขณะเพาเวอร์แอมป์ทำงาน 50% อยู่ที่ 0.033% ซึ่งถือเป็นค่าที่ดีมาก
.
ด้านคุณภาพเสียง
HELIX M Four DSP โชว์ศักยภาพด้านเสียงออกมาอย่างเหมาะสม
จากประกายเสียง ไดนามิกของกีต้าร์เบสที่มีความเร็ว และมีความต่อเนื่อง
รวมถึงช่องไฟ พื้นหลังของเสียงที่สงัด ทำให้เราได้เห็นถึงค่าความไว และสมดุลเสียง
จากการประมวลผล และความสามารถของเพาเวอร์แอมป์ระดับนี้
ที่สามารถขับความถี่ย่านเบส ถึงย่านกลางให้มีประสิทธิภาพได้
ซึ่งคุณภาพเสียงเบสที่ได้รับฟังขณะทดสอบ ถือว่าใกล้เคียงกับระบบเครื่องเสียงบ้านได้เลย
.
บทสรุป
เพาเวอร์แอมป์ HELIX M Four DSP ใหม่นี้
ได้เป็นส่วนเติมเต็มให้กับผลิตภัณฑ์ของ HELIX รุ่น M Series ให้มีความสมบูรณ์แบบ
ด้วยเพาเวอร์แอมป์ 4 แชนแนล ที่มีศักยภาพของ DSP อย่างพรั่งพร้อม