.
ขอนำทุกท่าน สัมผัสสไตล์เสียงที่คุณต้องการ
ด้วยลำโพงที่มีแนวเสียงดนตรีอันอิ่มแน่นสไตล์ฝรั่งเศส
( French Sound )….. #Live !!!
Dynamic เต็มๆ ไปกับ จังหวะ และ ความเร็ว ผสมผสานกับบรรยากาศดนตรีที่มีความสด และชัดเจน ด้วยอุปกรณ์เพียงน้อยชิ้น แต่ให้ย่านความถี่เสียงที่ครบ สมบูรณ์
.
สวัสดีทุกท่านอีกครั้งครับ
วันนี้ผมขอนำเสนอการผสมผสานลำโพง 2 รุ่น
จากลำโพง BLAM รุ่น LIVE series รุ่น LW 200 P ซึ่งเป็นลำโพงวูฟเฟอร์ขนาด 8 นิ้ว แมทช์กับลำโพงฟูลเรนจ์ 3 นิ้วรุ่น LFR 80
.
การผสมผสานของลำโพงคู่นี้ มีความลงตัวทุกด้านแนวเสียง
โดยลำโพงคู่นี้ออกแบบมาเพื่อการฟังเพลงรูปแบบ Streaming ไฟล์เพลง ผ่านอุปกรณ์ Smart Phone ที่ทุกวันนี้การฟังเพลงรูปแบบดังกล่าว กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรากันไปแล้ว
.
ลำโพงชุดนี้ สามารถนำไปติดตั้งกับรถรุ่นใหม่ๆ หลายรุ่น ที่มีช่องใส่ลำโพงวูฟเฟอร์ในประตูขนาดใหญ่ และช่องใส่ลำโพงฟูลเรนจ์บนคอนโซล ที่สามารถติดตั้งแทนตำแหน่งเดิมได้ โดยไม่มีการดัดแปลง หรือติดตั้งบน เสา A Pillar
.
เรามาทำความรู้จักไดรเวอร์ลำโพงทั้ง 2 รุ่นนี้กันครับ
เริ่มต้นด้วยวูฟเฟอร์ขนาด 8 นิ้วของ BLAM LW 200 P ซึ่งเป็นไดรเวอร์ลำโพงเสียงกลาง ขนาด 8 นิ้ว โดยสามารถตอบสนองความถี่ได้กว้างถึง 40 – 4,700 เฮิรตซ์ ที่ลำโพงขนาด 6.5 นิ้ว ทำไม่ได้ จึงมีไดนามิคเสียงอันโดดเด่น รวมถึงจังหวะ และความเร็วในการตอบสนองแบบฉับพลัน
.
ความพิเศษของ LW 200 P คือ การออกแบบโครงลำโพงให้มีขนาดบาง
รวมถึงการเลือกใช้กรวยลำโพงวูฟเฟอร์ชนิดเคฟล่าร์ ที่มีน้ำหนักเบา และแข็งแรง เป็นการชดเชยค่าความไว ( Sensitivity ) ให้มีความใกล้เคียงกับลำโพงขนาด 6.5 นิ้ว
.
และแน่นอนครับว่า วูฟเฟอร์ขนาด 8 นิ้ว ย่อมตอบสนองความถี่ย่านต่ำได้มากกว่าลำโพงขนาด 6.5 นิ้ว จุดนี้เองทำให้วูฟเฟอร์ LW 200 P มีโทนเสียงทุ้มต่ำที่โดดเด่น แฝงด้วยพลัง และการตอบสนองความถี่ที่ฉับไว
.
รถยนต์รุ่นใหม่โดยมาก ได้ออกแบบช่องใส่ลำโพงบนคอนโซลเป็นช่องขนาดใหญ่ การติดตั้งลำโพงฟูลเรนจ์ขนาด 3 นิ้วจึงไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป
จุดนี้จึงทำให้ลำโพงฟูลเรนจ์ BLAM LFR 80 ทำหน้าที่รับช่วงความถี่ย่านกลาง – แหลม ต่อจากวูฟเฟอร์ LW 200 P ได้อย่างลงตัว
.
หลายท่าน อาจมองว่า ความถี่ย่านปลายเสียงแหลมที่มาจากลำโพงฟูลเรนจ์
อาจจะไม่เพียงพอ แต่ LFR 80 มีความสามารถอันเหลือเชื่อในการตอบสนอง ความถี่ได้ตั้งแต่ 150 – 37,000 เฮิรตซ์ ในขณะที่ลำโพงทวีตเตอร์ ( ลำโพงเสียงแหลม ) ส่วนใหญ่ สามารถตอบสนองความถี่ย่านปลายได้เพียง 22,000 เฮิรตซ์
.
กรวยลำโพงของ LFR 80 เป็นเคฟล่าร์ มีน้ำหนักเบา ให้บุคลิกเสียงแนวเดียวกับวูฟเฟอร์ LW 200 P นอกจากนี้ LFR 80 ยังเลือกใช้แม่เหล็กลำโพงชนิดนีโอไดเมียม แรงเหนี่ยวนำสูง ที่ช่วยในการตอบสนองความถี่ย่านปลายได้ดีกว่าแม่เหล็กลำโพงทั่วไป
.
การผสมผสานของลำโพงทั้ง 2 รุ่นนี้ เรียกได้ว่าเป็น “ ความลงตัว ”
ทั้งในเรื่องของแนวเสียงที่ทันยุค ทันสมัย รวมถึงการติดตั้งที่ใช้ลำโพงน้อยชิ้น แต่ได้คุณภาพเสียงออกมาครบย่าน
.
มากไปกว่านั้น หากลำโพงชุดนี้ขับด้วยแอมปลิฟายล์คุณภาพ กำลังขับสูง
ควบคุมการปรับแต่งความถี่ย่านเสียงด้วย DSP ที่มี Software ปรับจูนเสียงระดับมืออาชีพ รวมถึงการเลือกใช้อุปกรณ์สาย และใช้ Acoustic Material ในสัดส่วนที่เหมาะสม
รับรองได้เลยครับว่า ระบบเสียงชุดนี้ เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างแน่นอน!
.
.
_____
.
สุดท้ายนี้ผมขอย้ำว่าระบบเสียงที่ดี จะหวังพึ่งเพียงอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งไม่ได้นะครับ จะต้องมาจากระบบที่เกิดจากการทำงานอย่างสอดประสานกันของอุปกรณ์ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็น DSP, Amplifier, Speaker, Subwoofer, สายไฟ, สายนำสัญญาณ, สายลำโพง และ Acoustic Materials รวมถึงการติดตั้ง และการปรับจูนเสียงโดยร้านติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญนะครับ
.
หากคุณผู้อ่านสนใจในเรื่องราวของเสียงระดับ Hi-Res อย่าลืมกดไลค์ กดติดตามเพจกันไว้นะครับ จะได้ไม่พลาดข้อมูลอัพเดทอย่างทันเวลา
.
ขอขอบคุณ และสวัสดีครับ
.
ทีมงาน Car Audio Hi-Res
.