DamPING MATERIAL

Acoustic Materials คืออะไร? ทำไมถึงมีสำคัญต่อคุณภาพเสียงมาก ?

POSTED ON 12

สังเกตไหมครับ เวลานั่งรถยนต์ดี ๆ เราจะรู้สึกสบายมากกว่ารถยนต์ทั่วไป บางคันนั่งทีนี่แทบไม่ต่างจากนั่งอยู่บนโซฟาที่บ้าน?! แถมเพลงยังฟังแล้วลื่นหู ไม่มีเสียงแทรก ได้ยินรายละเอียดของเพลงชัดเจนทุกองค์ประกอบ จริงอยู่ว่าเครื่องเสียงรถยนต์ที่ดี ต้องมี DSP ( เครื่องปรับแต่งเสียงแบบดิจิตอล ) ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน นั่นคือเรื่อง Acoustic Materials หรือ “วัสดุควบคุมการแผ่ของคลื่นเสียง” ครับ

Credit pic: https://www.freepik.com/free-photos-vectors/business”>Business photo created by drobotdean – www.freepik.com

หลายคนอาจคิดว่า ยิ่งเสียงถูกขับออกมาอย่างทรงพลังเท่าไร คุณภาพเสียงก็จะยิ่งดีเท่านั้น แต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงครึ่งเดียวครับ เพราะองค์ประกอบของเสียงเพลงที่ดี การควบคุมให้อยู่ในขอบเขตหรือระดับที่เหมาะสมต่อโสตประสาทของผู้ฟังก็เป็นเรื่องจำเป็น หากจะให้ผมยกตัวอย่าง ลองนึกถึงโรงละครโอเปร่า วงออเคสตร้า หรือโรงภาพยนต์ดูนะครับ สังเกตว่า บริเวณกำแพงห้องรอบด้านจะมีการบุด้วยวัสดุคล้ายเบาะผ้ากำมะหยี่ใช่ไหมครับ?

นั่นล่ะครับ คือการควบคุมการแผ่ของคลื่นเสียง เพราะแม้เสียงในโรงภาพยนตร์จะมีความดังกระหึ่มด้วยระบบ Surround รอบทิศทางแค่ไหน ก็ยังจำเป็นต้องใช้ Acoustic Materials ในการคอนโทรลเสียงร่วมอยู่ดี

ทีนี้ ทุกคนลองเปลี่ยนภาพกลับมาที่ภายในรถยนต์ของคุณกันนะครับ ถึงแม้ว่าห้องโดยสารในรถยนต์นั้นมีพื้นที่ไม่มากนัก หากเทียบกับขนาดกว้างใหญ่ของฮอลล์ในโรงละครอาจจะงงได้ว่า ต่างกันขนาดนั้นแล้วทำไมถึงต้องใช้ Acoustic Materials อีก? แต่ประเด็นอยู่ที่ขนาดห้องนี่ล่ะครับ ยิ่งเล็ก ยิ่งทำให้เกิดทั้งการสะท้อนกลับไปมาของเสียง (Reverberation) และเสียงรบกวน (Noise Floor) ได้ง่ายกว่าสภาพแวดล้อมปกติมาก

วัสดุ Acoustic Materials จึงต้องเข้ามาช่วยในการสลาย และดูดซับคลื่นเสียงภายในรถยนต์เอาไว้ เพื่อสลาย และลดเสียงสะท้อนให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยลดเสียงรบกวนจากห้องเครื่องยนต์ สภาพแวดล้อมจากภายนอก และยังป้องกันความร้อนจากภายนอกรถยนต์ได้อีกด้วย

ภาพตัวอย่างของ Acoustic Materials ที่ติดตั้งในรถยนต์แล้ว

โดยทั่วไป Acoustic Materials นั้นสามารถทำจากวัสดุได้หลากหลายชนิด เช่น โพลียูรีเทน หรือวัสดุที่มีรูพรุนต่าง ๆ ( Porous Materials ) เป็นต้น โดยแต่ละแบบก็จะให้ค่า AC ( Absorption Coefficient ) หรือค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับเสียง ที่แตกต่างกันไป โดยวัสดุดูดซับเสียงควรจะต้องมีค่า AC สูงกว่า 0.3 หรือ 30% ขึ้นไปจึงจะสามารถใช้งานได้จริงครับ

อย่างไรก็ตาม ในรถยนต์นั้น Acoustic Materials จะประกอบไปด้วย 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
1. Vibration วัสดุสลายแรงสั่นสะเทือนภายในรถยนต์

ภาพตัวอย่างของ Vibration ของ Silentcoat

2. Isolator วัสดุที่ใช้ในการกันเสียงรบกวน และความร้อนจากภายนอกไม่ให้เข้าสู่ภายในห้องโดยสาร
ในกรณีเดียวกันก็กันเสียงจากภายใน และความเย็นในห้องโดยสารไม่ให้ออกสู่ภายนอก

ภาพตัวอย่างของ Absorber ของ Silentcoat

โดยทั้งสามประเภทนี้ จำเป็นจะต้องติดตั้งร่วมกันเพื่อให้ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์แบบที่สุด ในการควบคุมการแผ่ของคลื่นเสียง เพื่อให้ได้เสียงที่มีความพอดีแต่ยังคงแสดงมิติได้ครบถ้วน รวมถึงป้องกันเสียงรบกวนจากทั้งภายนอก ไปจนถึงเสียงของเครื่องยนต์ของรถเอง เพื่อให้ผู้โดยสารในรถสามารถดื่มด่ำกับเสียงดนตรีได้อย่างเต็มที่ครับ

ในส่วนรายละเอียดของการติดตั้ง “วัสดุควบคุมการแผ่ของคลื่นเสียง” หรือ Acoustic Materials ผมจะมานำเสนอให้ได้ทราบกันแบบละเอียดอีกครั้งในบทความนี้ หากท่านผู้อ่านสนใจ อย่าลืมกดติดตาม หรือกดไลค์กันไว้นะครับ เพื่อที่จะได้รับทราบการอัพเดทบทความเกี่ยวกับเครื่องเสียงรถยนต์ได้ทันที

ติดตามข่าวสารและข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเสียงรถยนต์ระดับ Hi-Res Audio ได้ที่
>> FB Page Hi-Res Audio

ขอขอบคุณ และสวัสดีทุกท่านครับ

ทีมงาน Hi-Res Audio

เจ้าของและผู้ก่อตั้ง

” ผมสั้งสมความเชี่ยวชาญตลอดเวลาเพื่อช่วยเปลี่ยนประสบการณ์ฟังเพลงในรถยนต์ของคุณไปตลอดกาล….”

TAGS
      

 

หมวดหมู่

DSP
AMPLIFIERS
DAMPING MATERIAL
ENCLOSURS
INTERCONNECT & CABLE
SPEAKER
SUBWOOFER

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

OFFICE

25/1 ซอยพระยาพิเรนทร์ ถนนเชื้อเพลิง แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

 

Contact us

081-422-9825